ผู้เขียนบทความนี้ชื่อ Travis Glover ค่ะ เขาบอกว่าเขาจะเปิดเผยเรื่องไม่จริงเกี่ยวกับกฏสามส่วนที่ช่างภาพและนักวาดนิยมใช้กัน โดยเขาจะเน้นไปที่เรื่องไม่จริงของกฏสามส่วนเหล่านั้นที่เราถูกบังคับให้เชื่อกันมาโดยตลอด บางทีเขาอาจจะเปลี่ยนแปลงวงการศิลปะได้ถ้าเขาช่วยให้ศิลปินคนอื่นๆละทิ้งกฏสามส่วนและแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคในการออกแบบที่แสดงตลอดบทความนี้ เขาต้องการความช่วยเหลือของคุณเพราะเขาไม่สามารถทำสิ่งที่ว่านั้นได้คนเดียว ใช้วิจารณญาณในการอ่านนะคะ
กฏสามส่วนใช้กันทั่วไป
เหมือนกับศิลปินคนอื่นๆเขาก็ถูกล้างสมองจนเชื่อฝังหัวว่ากฏสามส่วนเป็นวิธีการจัดองค์ประกอบภาพที่เหมาะสมและยอมรับกันได้ เขาคิดว่ามันเป็นเพราะมาตรฐานของศิลปะที่คุณต้องการจะผลิตออกมา คุณอยากเป็น ศิลปะชั้นครูอย่างดาวินชี,บูเกอโร,เดกาส,รูเบนส์ หรือว่าศิลปินที่ขายรูปของเขาในร้านขายของเก่า ไม่ใช่แกลเลอรี่หรือพิพิธภัณฑ์
“ไม่มีการจัดองค์ประกอบ ศิลปะไม่สามารถเบ่งบานได้ด้วยตัวเองและเมื่อใช้กฏสามส่วนในภาพของคุณ คุณจบที่ตรอกมืดซึ่งจะถูกฆ่าด้วยงานศิลปะๆชั้นธรรมดาๆ นี่อาจจะเป็นคำที่รุนแรงแต่มันเป็นอย่างนั้นจริงๆครับ”เขากล่าว
มันเป็นประสบการณ์ของเขาที่คนไม่ชอบกฏ และคนไม่ชอบตามมัน เขามักจะพูดคำที่ได้ยินจนเกร่อว่า “กฏหน่ะมีไว้แหก”หรือ”ถ้ารู้กฏเราก็สามารถแหกกฏได้ แต่ต้องรู้ว่าควรแหกตอนไหน”
คำว่า”กฏ”มันสามารถมองเป็นเรื่องลบได้ สิ่งที่เขาต้องการแสดงไม่ใช่กฏที่ต้องการจะถูกแหก แต่มันเป็นความรู้ที่คุณสามารถใช้กับงานศิลปะคุณได้ถ้าคุณต้องการ นั่นคือทางเลือกของคุณ ง่ายๆแค่นี้
เรื่องเข้าใจผืด #1: “มันทำให้เพลิดเพลินทางสายตา”
อันนี้เนี่ยเราต้องรู้ก่อนว่าอะไรคือสิ่งที่ทำให้เพลิดเพลินทางสายตา และรับประกันเลยว่า มันไม่ใช่การวางวัตถุบนจุดตัดเก้าช่อง เพื่อที่จะให้เกิดความเพลิดเพลินทางสายตา ความเพลิดเพลินทางสายตาจะเกิดขึ้นเมื่อเทคนิคการจัดองค์ประกอบของคุณไปในทางที่สามารถอ่านได้ง่ายโดยผู้ดู โดยที่ไม่ถูกองค์ประกอบใดๆกีดขวางทางสายตาหรือทำให้เกิดความสับสนโดยการขาดลำดับขั้นทางสายตา เราทำแบบนั้นได้อย่างไร?
เอาจริงๆคือเราต้องเข้าใจก่อนว่าจิตรับรู้ visual stimuli หรือสิ่งเร้าทางสายตาได้อย่างไร ในการนี้เราจะใช้เทคนิคจิตวิทยาของ Gestalt (อ่านว่าจีซัลท์นะคะ) อย่างเช่นความสัมพันธ์ระหว่างพื้นภาพกับตัวภาพ (figure and ground relationship:FGR)เพื่อที่จะแยกวัตถุต่างๆออกจากพื้นหลัง
ภ่าพถ่ายโดยHenri Cartier-Bresson แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่าง FGR
หรือเราจะใช้กฏของความต่อเนื่อง ซึ่งทำให้เราสามารถสร้างเส้นนำสายตาจากวัตถุหลายๆวัตถุได้
เราสามารถใช้เทคนิคบริเวณที่เด่นชัดมากสุด (greatest area of contrast) ในการที่จะช่วยดึงดูดสายตาผู้ดูไปยังองค์ประกอบหลัก
เรื่องเข้าใจผิด #2: “มืออาชีพใช้กัน”
เรื่องไม่จริงที่เราได้ยินกันมาอีกคือ “มืออาชีพใช้กัน” แอนนี่ เลย์โบวิทซ์ เป็นมืออาชีพ และเป็นหนึ่งในช่างภาพที่ให้แรงบันดาลใจมากที่สุดณ.ปัจจุบัน ดังนั้นเรานำงานเธอมาวิเคราะห์กฏสามส่วนกัน ว่าเธอใช้มันหรือไม่
เห็นได้ชัดเลยว่าเตาผิงถูกแบ่งโดย grid ของกฏสามส่วน เขาบอกติดตลกว่า “หืม ผมคิดว่าเธอใช้มันนะ แต่เดี๋ยวก่อน ทำไมแบบทำท่าอย่างนั้น ทำไมเธอสร้างองค์ประกอบที่ยอดเยี่ยมได้ ทั้งๆที่มีแค่เส้นแนวนอนกับแนวตั้งเท่านั้นที่ไกด์เธอ ตรงนี้แหละที่เราจะแนะนำ DYNAMIC SYMMETRY”
(คือเป็นการจัดองค์ประกอบที่สี่เหลี่ยมรูทสี่สองอันสามารถแบ่งเป็นสี่เหลี่ยมเล็กๆรูทสี่ได้สี่อันและสร้างเส้นขึ้นจากจุดตัดของสี่เหลี่ยมเหล่านั้น)
เพื่อทีจะให้แบบโพสอย่างถูกต้อง เธอใช้ Dynamic symmetry ที่ดูเหมือนจะดูเป็นคำเวอร์วังสำหรับระบบ grid ในงานศิลปะ
(รูปบนเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าสัดส่วนหนึ่งจุดห้าที่เป็นโครงพื้นฐาน ขนาดเดียวกับเซนเซอร์ของกล้อง(และสี่เหลี่ยมทั้งสามสามารถบรรจุในสี่เหลี่ยมผืนผ้ารูท 4 ได้ ,รูปล่างเป็นระบบ grid ที่สมบูรณ์)
พูดง่ายๆก็คือระบบ grid เป็นระบบที่เราสามารถใช้ในงานภาพถ่ายหรือภาพวาดของเราเพื่อที่จะช่วยจัดองค์ประกอบ เราสามารถใช้เส้นแทยง,เส้นตั้งหรือว่าเส้นนอนเพื่อที่จะทำให้เกิดจังหวะและเอกภาพตลอดทั้งภาพ ไม่ว่าจะเป็นภาพวาด ภาพถ่าย รูปปั้น หรือฟิกเกอร์ Dynamic symmetry สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งหมด
“Laocoon & His Sons” รูปปั้นกรีกที่มีการก่อสร้างโดยใช้หลักการ Dynamic symmetry
“เราสามารถลงลึกเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ แต่อย่าเพิ่งเสียโฟกัสกับจุดประสงค์หลัก นั่นก็คือการเปิดเผยธาตุแท้ของกฏสามส่วนว่ามันคืออะไร กฏน่าเบื่อที่ล้างสมองเราว่ามันมีค่าที่จะถูกdแชร์กับโลกนี้”เทวิสกล่าวต่อไป
ความเข้าใจผิด#3: “มันช่วยให้ตาเคลื่อนที่ไปรอบๆภาพ”
เรื่องที่จะพูดนี่ไม่ไกลจากความจริง การที่เราวางวัตถุลงบนจุดตัดโดยไม่พิจารณาองค์รวมนั้นไม่ได้ช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหวอะไรขึ้นในองค์ประกอบภาพเลย
ด้านล่างนี่คือองค์ประกอบเส้นโค้งที่คุณสามารถนำเข้าไปในรูปเพื่อให้เกิดการกวาดตาไปรอบๆภาพ ศิลปินชั้นครูต่างใช้เทคนิคนี้
เทคนิคถัดไปที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของสายตาคือ”ความบังเอิญมาเจอกัน” หรือ Coincidence มันหมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างขอบกับขอบ ที่ทำให้เกิดเอกภาพในหลายๆองค์ประกอบและทำให้เกิดการเคลื่อนไหวจากด้านหนึ่งไปสู่อีกด้านหนึ่ง และจากบนลงล่าง
มันไม่ใช่เส้นแข็งอย่างที่คุณคิดเมื่อคุณได้ยินคำว่า “เส้นนำ” มันเป็นเส้นหักๆ ซ่อนไว้ และเป็นมนตร์วิเศษที่ทำให้จิตของเราเติมเต็มช่องว่างนั้นเอง
ในรูปล่างเราจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างขอบกับขอบโดยแอนนี่ เลย์โบวิทซ์โดยใช้ช่วงลำตัวของแบบ
เรายังสามารถเห็นได้ในภาพเขียนโมนาลิซา โดยดาวินชี และการจัดองค์ประกอบที่ซับซ้อนโดยบูเกอโร
ความเข้าใจผิด #4: “มันทำให้จุดสนใจอยู่ห่างจากกลางภาพ”
ถามจริง ใครเป็นคนบอกว่าการวางภาพตรงกลางไม่ดี แล้วทำไมเราต้องเชื่อ?
มีจิตวิทยา Gestalt เทคนิคได้บอกถึงกฏของการสมมาตร ซึ่งหมายถึงโดยปกติแล้วตามนุษย์มักจะหาความสมดุลย์ในสิ่งเร้าทางทัศนะเสมอ ดังนั้นเมื่อเราใช้กฏสามส่วนและวางองค์ประกอบหลุดออกจากตรงกลาง เราต้องการสิ่งตรงข้ามที่ช่วยให้ภาพเกิดความสมดุลย์ ถ้าไม่มีสิ่งตรงข้าม(counter part)นั้น เราก็จะสร้างให้เกิดความสมดุลย์ที่แย่ขึ้นภายในการจัดองค์ประกอบของเรา
มีความสมดุลย์ทางแนวตั้งเรียกว่าห้องให้ภาพได้หายใจหรือ Breathing room และมีความสมดุลย์ทางแนวนอน(ที่เขาเรียกว่าทิศการมอง) และเราต้องทำความเข้าใจว่าจะควบคุมสิ่งเหล่านี้เพื่อที่จะสร้างให้เกิดการจัดองค์ประกอบที่สมดุลย์ขึ้นได้อย่างไร
ด้านล่างเป็นภาพที่เขาถ่ายที่แสดงให้เห็นว่าจุดสนใจอยู่ตรงกลาง แต่ว่ามันมีความสมดุลย์ดีเพราะองค์ประกอบแนวนอนกับแนวตั้งได้พิจารณาแล้วในภาพ
“ผมใช้เวลาเป็นปีๆในการลบไอ้กฏสามส่วนนั่นออกจากหัวเพราะว่าการจัดองค์ประกอบของผม ผมมักจะวางองค์ประกอบอีกข้างหนึ่งโดยไม่คำนึงถึงภาพรวม”เทวิสกล่าว
ภาพของเทวิสก่อนที่จะรู้จักกับจิตวิทยา Gestalt
ความเข้าใจผิด #5: “พื้นฐานที่ดีสำหรับภาพและช็อตที่น่าสนใจ”
เราได้ค้นพบกฏการสมมาตรแล้ว มันได้ครอบคลุมเรื่องของความสมดุลย์ในภาพ แต่สิ่งที่เรายังไม่พูดถึงคือกฏสามส่วนสร้างให้เกิด negative space ที่เราไม่ต้องการได้อย่างไร(negative space คือพื้นที่รอบๆวัตถุที่เราวาดค่ะ) ถ้าเราวางจุดสนใจของเราแบบทั่วๆไปในหนึ่งในจุดตัดทั้งสี่โดยไม่คำนึงถึงภาพรวม ดังนั้นเราจะไม่มีสิ่งตรงข้ามในอีกด้านหนึ่งของการจัดองค์ประกอบและเราจะมี negative space ที่ดึงสายตาเราออกไปจากภาพ
ดูภาพล่างเป็นตัวอย่าง Negative space สามารถทำให้เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวหรือเคว้งคว้าง แต่การใช้มันโดยไม่พิจารณาเป็นทางของมือใหม่
ความเข้าใจผิด #6: “มันง่ายสำหรับมือใหม่”.
ในทัศนะของผม กฏสามส่วนไม่เพียงทำให้ผมตัน ตอนแรกผมก็คิดว่ามันเป็นการปฏิวัติ และผมก็โม้พลังของมันกับช่างภาพคนอื่นๆที่เพิ่งเริ่ม”เทวิสพูดต่อ
“ภายหลังผมพบว่าเจอของเสียแล้วผมไม่สามารถที่จะเข้าใจการจัดองค์ประกอบอย่างจริงจังเลยเพราะไอ้กฏสามส่วนมันไกด์ผม”
ถ้าศิลปินมือใหม่เริ่มต้นด้วย Grid dynamic symmetry แทนที่กฏสามส่วนแต่แรก เขาก็จะสามารถได้เปรียบในการใช้เส้นทแยง เขาสามารถสร้างจังหวะให้เกิดขึ้นโดยการวางท่าของแบบหรือการสร้างฝีแปรง เส้นทแยงมุมที่มีอยู่ในสี่เหลี่ยมผืนผ้าจำกัดทิศทางที่คุณสามารถไปได้ เรียกว่า Gamut ซึ่งจะทำให้เกิดการจัดองค์ประกอบที่เข้มแข็งและมีพลังมากขึ้น
ความเข้าใจผิด #7: “ศิลปินยุคเรนาซองค์หรือกรีก ใช้กฏสามส่วน”
กฏสามส่วนถูกเขียนในหนังสือโดยสมิธ(ประมาณปี 1797) และถ้าคุณดูภาพเขา ปรากฏว่าภาพเขาก็ไม่ได้ยอดเยี่ยมขนาดชั้นบรมครู
“ดาวินซีคงนอนกลิ้งในโลงถ้าเขาได้ยินจากใครว่าเขาใช้ไอ้กฏนี่ ปริมาณของการสอน ศึกษา และฝึกฝนการจัดองค์ประกอบของเขา และใครบางคนได้คิดง่ายๆว่ามันเป็นอะไรง่ายๆแค่นี้อย่างกฏสามส่วนหนะเหรอ ไม่มีทางครับ”เทวิสย้ำ
ดาวินชี กับศิลปินชั้นบรมครูอื่นๆ รวมทั้งกรีก ใช้ dynamic symmetry,golden section และเทคนิคการออกแบบอื่นๆอย่าง Arabesque,gamut,coincidence,เส้นรังสี,ความสัมพันธ์ระหว่างภาพและพื้นภาพ,วงรีและการปิดล้อม
ความเข้าใจผิด #8: “ตามนุษย์มักถูกดูดไปยังจุดตัด”
“ผมหวังว่าการจัดองค์ประกอบมันจะง่ายขนาดนั้น วางจุดสนใจลงบนจุดตัด ป้าบ!!!คุณสามารถควบคุมสายตาคนดูได้แล้ว ไม่เร็วไปเลยเนอะ!แล้วความจริงที่ว่าตาเรามักจะถูกดูดไปยังบริเวณที่มีความต่างชัดสูง(high contrast)ล่ะ เมื่อเราทำให้จุดสนใจของเราเป็นบริเวณที่มีความต่างชัดสูงสุด (Greatest area of contrast:GAC) เราจะไม่ดูตรงนั้นก่อนเหรอ ไม่เกี่ยวกับตำแหน่งว่ามันอยู่ตรงไหนนะครับ”
อย่างอื่นที่ดึงสายตาเราคือสิ่งที่ผมเรียกว่า Edge flicker มันหมายถึงความต่างชัดขององค์ประกอบที่อยู่ใกล้ขอบ ที่ดึงสายตาคนดูจากจุดสนใจของคุณ สร้างให้เกิดลำดับขั้นของความต่างชัดและเก็บขอบให้ไร้สิ่งรบกวนใดๆจะช่วยใ้ห้คุณ ควบคุมสายตาของผู้ดูไปรอบๆภาพได้ (ดูตัวอย่างด้านล่าง)
ความเข้าใจผิด #9: “การตัดรูปเป็นกฏสามส่วนเป็นวิธีที่ดีในการเซฟรูป”
การตัดรูปที่องค์ประกอบและแสงไม่ได้เรื่อง ไม่ได้ช่วยอะไร มันเหมือนกับการเริ่มงานจากจุดจบแล้วย้อนไปจากข้างหลัง
การเรียนการจัดองค์ประกอบและจิตวิทยา Gestalt จะช่วยให้คุณเจอสิ่งที่คุณตามหา วิธีในการแก้ไขปัญหาทางทัศนะ และทำให้มันถูกต้องในกล้อง อย่าเสียสละพิกเซลเพื่อกฏสามส่วน ความสร้างสรรค์ของคุณมีมากกว่านั้น
ความเข้าใจผิด #10: “The power points, หรือ golden points,สร้างแรงดึง”
การวางจุดสนใจบนกฏสามส่วนไม่ได้สร้างให้เกิดแรงดึงทางสายตาอย่างที่เราเคยเรียนกันมา
ถ้าเราดูจิตวิทยา Gestalt ชื่อ กฏของความใกล้ชิด (law of proximity) เราจะเห็นว่าแรงดึงทางสายตาเกิดขึ้นอย่างไร เหมือนกับภาพวาดบนเพดานกำแพงของโบสถ์ซิสทีน มันถูกทำให้เกิดเอกภาพโดยความใกล้ชิด แต่สิ่งอื่นที่เราต้องสังเกตคือแรงดึงทางสายตาสร้างโดยความจริงที่ว่ามันสามารถเกือบจะสัมผัสได้ แต่ไม่ นั่นคือช่วงเวลาก่อนที่จะ Impact(ทำให้เราเกิดความประทับใจ)
หรือภาพนี้
เมื่อดูกฏแห่งความใกล้ชิดแล้ว ระยะห่างสามารถสร้างให้เกิด negative space ได้ ซึ่งสร้างให้เกิดแรงดึงทางสายตา
อ้างอิง
http://petapixel.com/2016/01/30/10-myths-about-the-rule-of-thirds/
One thought on “10 อย่างที่เชื่อกันผิดๆเกี่ยวกับการจัดองค์ประกอบรูปด้วยกฏสามส่วน”
การแสดงความเห็นถูกปิด