ตอนที่หนึ่ง
ประวัติของกฏสามส่วน

กฏสามส่วนถูกเขียนขึ้นมาในหนังสือโดย John Thomas Smith ในปี 1797 เรียกว่า “ความไม่ธรรมดาในความทรงจำชนบท” เขาอ้างว่า “ใกล้เคียงกับกฏสามส่วนนี้ ผมขอคิดแบบนั้นว่าในการที่จะเชื่อมต่อหรือตัดเส้นหลายๆเส้นในภาพ มันเหมือนจะเป็นกฏที่ดีที่จะทำแบบนั้น โดยทั่วไป โดยสคีมที่คล้ายกันของสัดส่วน อย่างเช่น ในการออกแบบภูมิทัศน์ในภาพ ในการตัดสินว่าท้องฟ้าเป็นสองในสามส่วน หรือไม่ก็หนึ่งในสามส่วน ดังนั้นองค์ประกอบจะเด่นกว่าทั้งสองอย่าง อีกทีคือ สองในสามในหนึ่งองค์ประกอบ(เช่นน้ำ) ไปจนถึงสองในสามทีต้องเป็นท้องฟ้าและมุมมองแบบในอากาศ กฏนี้สามารถใช้ในการตัดความยาวของกำแพง หรืออะไรก็ตามที่มีความต่อเนื่องในเส้นที่สามารถพบและจำเป็นต้องตัดโดยทำเส้นขวางหรือซ่อนมันด้วยองค์ประกอบอื่นๆ กล่าวสั้นๆคือ ในการที่จะประยุกต์ประดิษฐ์กรรมนี้ พูดโดยทั่วไปคือ ในกรณีที่แสง เงา รูปทรง หรือสี ผมได้ค้นพบอัตราส่วนของสองในสามและหนึ่งในสาม หรือหนึ่งถึงสองดีกว่าและเป็นสัดส่วนที่ดูกลมกลืนกว่า มากกว่าการแบ่งครึ่ง ถ้าไปไกลอีกก็สี่ในห้าส่วน และสั้นๆก็คือสัดส่วนอะไรก็ตาม”
ข้อจำกัดของกฏสามส่วน
1.กฏสามส่วนไม่มีเส้นแทยงมุมใน grid การออกแบบ
เส้นแทยงมุมจำเป็นต่อความสำเร็จในการจัดองค์ประกอบใดๆไม่ว่าจะเป็นภาพเขียน,ภาพวาด,หรือภาพถ่าย เพราะว่ากฏสามส่วนไม่มีเส้นแทยงมุมในกริดการออกแบบ ศิลปินจึงไม่สามารถตัดสินตำแหน่งที่ดีที่สุดที่จะวางจุดสนใจภายในจุดตัดที่เรียกว่า “ตา” ก็เลยใช้แต่เส้นนอนและเส้นตั้งในการวางองค์ประกอบ ซึ่งทำให้จำกัดและบังคับให้ศิลปินต้องเดาตลอดเวลา
2. คุณไม่สามารถใช้กฏสามส่วนในการวิเคราะห์งานของบรมครูได้
เพราะว่างานของบรมครูได้ออกแบบไว้ซับซ้อนกว่ากฏสามส่วนนัก ในกฏสามส่วนคุณไม่สามารถวิเคราะห์หรือเรียนรู้อะไรก็ตามจากศิลปะ พูดง่ายๆคือ คุณไม่มีทรัพยากรพอที่จะศึกษา ในฐานะศิลปิน คุณต้องเป็นเหมือนนักสืบและมีทักษะที่จำเป็นที่จะถอดรหัสการจัดองค์ประกอบเหล่านั้น,ทฤษฎีสี และอื่นๆอีกมากมาย เมื่อคุณได้สำเร็จทักษะเหล่านี้แล้ว คุณสามารถค้นพบว่า ศิลปินชั้นบรมรมครูหรือศิลปินชั้นยอดท่านอื่นออกแบบงานได้อย่างไรและสามารถประยุกต์มันลงในงานของคุณได้
3. กฏสามส่วนสร้างความไม่สมดุลย์ในการจัดองค์ประกอบ
ถ้าการเป็นศิลปินอย่างไม่ระมัดระวังมันง่ายมากที่จะสร้างให้เกิดความไม่สมดุลน์ภายในงานโดยการใช้กริดของกฏสามส่วน เพราะว่ากฏสามส่วนดึงจุดสนใจคุณออกจากจุดศูนย์กลางของกรอบ และเข้าไปชิดขอบอีกด้านหนึ่ง มันไม่ใช่เรื่องธรรมดาที่จะทิ้งส่วนที่เหลือของภาพ นักวาดจำนวนมากเชื่อว่า ตราบเท่าที่เขามีอะไรอยู่ในจุดตัดนั่น มันก็เป็นการออกแบบที่ดีเสมอ แย่หน่อยนะ มันไม่ใช่กรณีนี้ ความสมดุลย์ในการออกแบบเป็นสิ่งคอขาดบาดตายในการที่งานจะประสบความสำเร็จและทิ้งพื้นที่ที่ตายแล้วของอีกข้างหนึ่งทำให้ตาผู้ดูเกิดความไม่สมดุลย์ ในกรณีนี้มีข้อมูลที่คุณควรอ่านเพิ่มคือ Steelyard Principle
อ้างอิง:http://www.leicacameramonkey.com/blog/rule-of-thirds-vs-dynamic-symmetry
แอดไลน์เพื่อรับทิปและอัพเดทได้ค่ะ

Like this:
ถูกใจ กำลังโหลด...
Related
Published by Meisanmui
Meisanmui หรือพี่มุ่ยจบจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เป็นนักวาดภาพประกอบ
ทำงานวาด/ออกแบบคาแร็คเตอร์ มาทั้งหมดราวๆ 15 ปี
มีผลงานลงสื่อทั้งไทยและต่างประเทศ และเป็นผู้เขียนหนังสือพ็อคเกตบุ็ค
"ลาเจ้านายไปตามฝัน"
Meisanmui is illustrator and art teacher based in BKK Thailand.
I Accept worldwide illustration work and teaching.
Meisanmui is an illustrator from BKK Thailand. She’s Chinese born in Thai so her art is mixing oriental taste with comics and illustration. Her specialty is drawing a pretty woman with nature. Which have elegance and gracefulness in line and gesture. She loves to create thing people can use with her illustration. ดูเรื่องทั้งหมดโดย Meisanmui
One thought on “การจัดองค์ประกอบแบบกฏสามส่วน vs dynamic symmetry ตอนที่ 2:ทำความรู้จักกฏสามส่วนเพิ่ม”
การแสดงความเห็นถูกปิด